ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ผลงานนักเรียนของ นางสาว ชนัญญา ไวว่องวัฒธนโชติ รับชมได้เลยค่ะ

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก
          คัมภีร์ธัมมบทขุททกนิกายกล่าวว่า  เรื่องเวสสันดรชาดกเป็นพุทธดำรัสที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ขีณาสพสองหมื่นรูป  และพระประยูรญาติที่นิโครธารามหาวิหารในนครกบิลพัสดุ์  ในคราวเสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา  และพระวงศ์ศากยะบรรดาพระประยูรญาติไม่ปรารถนาจะทำความเคารพพระองค์  ด้วยเห็นว่าอายุน้อยกว่า
          พระองค์ทรงทราบความคิดนี้จึงทรงแสดงยมกปกฏิหาริย์  โดยเสด็จขึ้นเบื้องนภาอากาศแล้วปล่อยให้ฝุ่นละอองธุลีพระบาทตกลงสู่เศียรของพระประยูรญาติทั้งหลาย  พระประยูรญาติจึงได้ละทิ้งทิฐิแล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้า  ขณะนั้นได้เกิดฝนโบกขรพรรษ  พระภิกษุทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์จึงได้ทูลถาม  พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  แล้วจึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก  หรือเรื่องมหาชาติให้แก่พระภิกษุและพระประยูรญาติอ่านเพิ่มเติม


มงคลสูตรคำฉันท์
  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด 38 ประการ  ไว้ในมงคลสูตร  ซึ่งเป็นพระสุตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา  มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฏก  ขุททกนิกาย  หมวดขุททกปาฐะ
          พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า  ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร  กรุงสาวัตถี  มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจคำถาม  คือ  พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า  มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล  เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์  ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง 12 ปี  ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม  พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล 38 ประการ  ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้งหนึ่งอ่านเพิ่มเติม


ทุกข์ของชาวนา 
เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
          ต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทยทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีน  เมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่า  มิได้มีความแตกต่างกัน  แม้ในฤดูกาลเพาะปลูก  ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต  คือ  ชาวนาเท่าที่ควร  ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ  ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร  ภูมิศักดิ์และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอความทุกข์ยากของชาวนา  และทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกยุคทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่แตกต่างกันเลยอ่านเพิ่มเติม